นิยามของความเครียด
วันอาทิตย์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2558
นิยามของความเครียด
ความเครียด
เ
ป็นภาวะที่บุคคลรู้สึกถูกกดดัน ไม่สบายใจ วุ่นวายใจ กลัว วิตกกังวล ตลอดจนถูกบีบคั้น เกิดจากการที่บุคคลรับรู้ หรือประเมินสิ่งที่เข้ามาในประสบการณ์ของตนว่าเป็นสิ่งที่คุกคามจิตใจ หรือก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย อันเป็นผลให้สภาวะสมดุลของร่างกายและจิตใจเสียไป
ความเครียดมีอยู่ 2ประเภท
1
.
Acute stress
คือความเครียดที่เกิดขึ้นทันที และร่างกายก็ตอบสนองต่อความเครียดนั้นทันทีเหมือนกัน โดยมีการหลั่งฮอร์โมนความเครียด เมื่อความเครียดหายไป ร่างกายก็จะกลับสู่ปกติเหมือนเดิมฮอร์โมนก็จะกลับสู่ปกติ
2
.
Chronic stress
คือความเครียดเรื้อรังเป็นความเครียดที่เกิดขึ้นทุกวัน และร่างกายไม่สามารถตอบสนองหรือแสดงออกต่อความเครียดนั้น ซึ่งเมื่อนานวันเข้าความเครียดนั้นก็จะสะสมเป็นความเครียดเรื้อรัง
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
ภาวะที่เครียดเกิดขึ้นจะกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้เกิดอาการหน้ามืด เป็นลม เจ็บหน้าอก ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หลอดเลือดอุดตัน โรคอ้วน
แผลในกระเพาะอาหาร เมื่อบุคคลตกอยู่ในความเครียดเป็นเวลานาน
จะทำให้สุขภาพร่างกายเลวลงเนื่องจากเกิดความไม่สมดุลของระบบฮอร์โมน
ซึ่งเป็นชีวเคมีที่สำคัญต่อมนุษย์
เพราะทำหน้าที่ช่วยควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ภายใน
ขณะเกิดความเครียดจะทำให้ต่อมใต้สมองถูกกระตุ้น
ทำให้ต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (
cortisol)
เพิ่มขึ้น
จะทำให้เกิดอาการทางกายหลายอย่างแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ตั้งแต่ปวดศีรษะ
ปวดหลัง อ่อนเพลีย หากบุคคลนั้นต้องเผชิญกับความเครียดที่รุนแรงมากๆ
อาจส่งผลให้บุคคลเสียชีวิตได้
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ
จิตใจของบุคคลที่เครียดจะเต็มไปด้วยการหมกมุ่น ครุ่นคิด ไม่สนใจสิ่งรอบตัว ใจลอย ขาดสมาธิ ความระมัดระวังในการ ทำงานเสียไปเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
จิตใจขุ่นมัว โมโหโกรธง่าย สูญเสียความเชื่อมั่นในความสามารถที่จะจัดการกับชีวิตของตนเอง เศร้าซึม
การเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายดังที่กล่าวในข้างต้น ไม่เพียงแต่จะทำให้ระบบการทำงานของร่างกายผิดเพี้ยนไป
แต่ยังทำให้พฤติกรรมการแสดงออกของบุคคลเปลี่ยนแปลงด้วย ยกตัวอย่างเช่น
บุคคลที่เครียดมากๆ
บางรายจะมีอาการเบื่ออาหาร หรือบางรายอาจจะรู้สึกว่าตัวเองหิวอยู่ตลอดเวลา
และทำให้มีการบริโภคอาหารมากกว่าปกติ
มีอาการนอนหลับยากหรือนอนไม่หลับหลายคืนติดต่อกัน
ประสิทธิภาพในการทำงานน้อยลง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หน้าแรก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น